วัดใหญ่ชัยมงคล

มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว" ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพาน สมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็น ป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลาง ถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรง สร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริม พระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้

วัดหน้าพระเมรุ

ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ด้านเหนือของคูเมือง(แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระ-ราชวังหลวง มีชื่อเดิม ว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวใน กรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาทีหลังในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อ สำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบ อย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี จากวัดมหาธาตุไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของ พระอุโบสถอีกด้วย พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ใน ประเทศไทย