วัดใหญ่ชัยมงคล

มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว" ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพาน สมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็น ป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลาง ถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรง สร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริม พระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้

วัดหน้าพระเมรุ

ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ด้านเหนือของคูเมือง(แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระ-ราชวังหลวง มีชื่อเดิม ว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวใน กรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาทีหลังในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อ สำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบ อย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี จากวัดมหาธาตุไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของ พระอุโบสถอีกด้วย พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ใน ประเทศไทย

วัดไชยวัฒนาราม

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระ ชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วัดราชบูรณะ

อยู่เชิงสะพานป่าถ่าย ตรงข้ามวัดมหาธาตุ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดให้ สร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งใช้ถวายพระเพลิงเจ้าอ้ายกับเจ้ายี่ ชนช้างกันจนถึงแก่พิราลัย และโปรดให้ก่อเจดีย์ 2 องค์ สวมทับบริเวณที่ชนช้าง ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน อยู่กลางวงเวียนหน้าวัด ซากที่เหลืออยู่แสดง ว่าวิหารและส่วนต่าง ๆ ของวัดนี้ใหญ่โตมาก พระปรางค์ที่เหลืออยู่เป็นศิลปะอยุธยาสมัยที่ 1 ซึ่งนิยม ตามแบบขอมที่ให้พระปรางค์เป็นประธานของวัด คราวเสียกรุง วัดนี้ถูกเผาเสียหายหมดแม้พระปรางค์ ใหญ่จะยังคงเหลืออยู่แต่ได้ถูกคนร้ายลักขุดของมีค่าในกรุไปส่วนหนึ่ง จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ขุด กรุเอาโบราณวัตถุที่มีค่าไปรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ซึ่งสร้างโดยเงินบริจาค จากการนำพระพิมพ์ขนาดเล็กที่ได้จากกรุนี้เป็นของชำร่วย เมื่อปี พ.ศ. 2500

วัดพระศรีสรรเพชญ์

เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพฯ หรือ วัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัยในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่แล้วโปรดยกให้เป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธี สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดาเมื่อ พ.ศ.2035 องค์กลางบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรม ราชาที่ 3พระเชษฐาธิราช ในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหาร และในปีถัดมา ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ถวายพระนามว่า "พระศรีสรรเพชญ ดาญาณ" ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ.2310 พม่าได้เผา ลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็นเจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 ซึ่งสมเด็จ พระบรมราชาที่ 4 พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น

วิหารพระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ องค์ใหญ่องค์หนึ่ง ในประเทศไทย พระมงคลพิตรนี้ แต่เดิมอยู่ทางทิศตะวันออก นอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชลอมาไว้ ทางด้านทิศตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดให้ ก่อมณฑปสวมไว้ ครั้งถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้ เพราะอสุนีบาต ทำให้พระศอ ของพระมงคลบพิตรหักตกลง จึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร แทนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารมงคลบพิตร ถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระวิหารและองค์พระพุทธรูป ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือไม่งดงามอ่อนช้อย เหมือนของเก่า บริเวณข้างวิหาร พระมงคลบพิตร ทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับ สร้างพระมรุ พระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านาย เช่นเดียวกับท้องสนามหลวง ของกรุงเทพฯ

แผนที่อยุธยา