วัดหน้าพระเมรุ

ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ด้านเหนือของคูเมือง(แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระ-ราชวังหลวง มีชื่อเดิม ว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวใน กรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาทีหลังในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อ สำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบ อย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี จากวัดมหาธาตุไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของ พระอุโบสถอีกด้วย พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ใน ประเทศไทย